ชวนมาเรียน
ตัวอย่างแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่องแนวทางการดูแลอวัยวะในระบบย่อยอาหาร (รูปแบบออนไลน์)
การเกิดหินอัคนี
การเกิดหินอัคนี
เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืด (Magma) อย่างช้าๆ ใต้ผิวโลก ทำให้ผลึกแร่ในหินมีขนาดใหญ่ เรียกว่า หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rocks) เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ หินแกบโบร ฯลฯ
และเกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกหรือการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (Lava) อย่างรวดเร็วบนผิวโลกทำให้ผลึกแร่ในหินมีขนาดเล็ก เรียกว่า หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rocks) เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินไรโอไลต์ หินสคอเรีย ฯลฯ
การเกิดหินตะกอน
การเกิดหินตะกอน
เกิดจากการสะสมตัวของตะกอน เช่น เศษหิน กรวด ทราย ดิน โคลน ฯลฯ ที่ผุพังจากหินเดิมตกลงไปในแอ่งสะสมตะกอนและมีการเชื่อมประสานตะกอน และเกิดจากการตกผลึกหรือตกตะกอนของสารบางชนิด ตัวอย่างหินตะกอน เช่น หินทราย หินปูน หินกรวดมน หินดินดาน หินเชิร์ต ฯลฯ
การเกิดหินแปร
การเกิดหินแปร
เกิดจากการแปรสภาพของหินทุกประเภท โดยความร้อน และ/หรือความดันที่อยู่ใต้ผิวโลกและอาจเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นใต้ผิวโลก เช่น หินไนส์ หินชนวน หินอ่อน หินควอตซ์ไซต์ ฯลฯ
ตัวอย่างแนวทางการจัดกิจกรรมการเกิดหินอัคนี (รูปแบบออนไลน์)